หนังสือเดินทางตอน จากหนังสือสู่ฟ้าเสวยสวรรค์ สู่งานนิทรรศการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ
หนังสือเดินทางตอน จากหนังสือสู่ฟ้าเสวยสวรรค์ สู่งานนิทรรศการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ
ผมได้หนังสือสู่ฟ้าเสวยสวรรค์ ของสำหนักพิมพ์มติชน จากงานสัปดาห์หนังสือเมื่อปลายเดือนตุลาคม 60 เป็นหนังสือรวบรวมรายละเอียดต่างๆ ในการจัดเตรียมพระเมรุมาศ เพื่อให้พร้อมใช้งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งเล่มเต็มเปลี่ยมไปด้วยรายละเอียด แนวคิด ความเพียรของคนหลายร้อยคน ในการทำงานแข่งกับเวลาที่มีเพียง 8 เดือน แต่จำนวนงานช่างมีมากมายเหลือเกิน การทำงานนี้ได้สำเร็จจึงเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรรย์มาก ดังนั้นเมื่องานสำนักราชวังได้เปิดพระเมรุมาศเพื่อจัดเป็นงานนิทรรศการฯ การไปชมด้วยตาตนเองจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
กำหนดการและช่องทางการเข้าชม
งานนิทรรศการฯ จะเปิดระหว่างวันที่ 2-30 พฤศจิกายน
2560 เวลา 07:00-22:00 น.
จะให้เข้าชมเป็นชุด ชุดละ 5,000
คน
มีเวลาให้เข้าชม 1
ชั่วโมงต่อชุด และทุกวันเสาร์ และอาทิตย์เวลา 08:00-17:00 น. จะมีการแสดงโขนหน้าพระที่นั่งทรงธรรม
การเตรียมตัวเพื่อเข้าชม ควรเผื่อเวลาเดินทางให้มากหน่อย
เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าวันไหนจะมีผู้เข้าชมมากหรือน้อย ผมไปถึงก่อนเวลาหกโมงเช้าเล็กน้อย แต่แถวรอคิวก็ยาวมากแล้ว ถ้าไปเวลากลางวันอากาศจะร้อนมาก แต่ภายในงานจะมีร่มไว้ให้ยืมใช้ไม่ต้องพกไปเอง ภายในส่วนจัดนิทรรศการจะไม่มีน้ำแจก
แต่จะมีแจกตั้งแต่จุดคัดกรองควรหยิบน้ำมาอย่างน้อยสองขวด สำหรับทานตอนนั่งรอเข้างาน อีกขวดไว้ทานตอนเดินชมนิทรรศการฯ ภายในส่วนแสดงมีห้องน้ำซึ่งสะอาดมาก
ต้องขอชมผู้จัดงานที่สามารถดูแลได้ดีถึงแม้ประชาชนที่เข้าชมมีจำนวนมากถึงวันละหลายหมื่นคน
จุดคัดกรองมีทั้งหมด
5
จุด
โดยแบ่งเป็น
ประชาชนทั่วไป
1.) หน่วยบัญชาการรักษาดินแดง (รด.)
2.) ถนนฝั่งท่าช้าง
3.) ถนนด้านพระแม่ธรณีบีบมวยผม (หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์)
ผู้พิการ
4.) หลังกระทรวงกลาโหม
พระภิกษุ สามเณร
5.) บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การแต่งการให้ยึดถือเช่นเดียวกับการเข้าชมวันพระแก้ว ผู้หญิงสามารถใส่กางเกงได้ แต่ต้องไม่ใช่ยีนฟอกขาด หรือรัดรูปเกินไป
กล้องถ่ายภาพสามารถเอาเข้าได้ทุกขนาดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ภาพนิ่งหรือวิดีโอ ขาตั้งกล้องสามารถเขาเข้าได้ แต่ถ้าเป็นเวลากลางวันไม่ต้องนำไปก็ได้ เพราะแสงมีมากพอ Speed Shutter สูงมากพอที่จะสามารถถือถ่ายภาพได้
ผมแบกไปเหมือนกันแต่ไม่ได้ยิบมาใช้เลย ไม่อนุญาตให้ใช้ไม้เซลฟี่ และการถ่ายภาพต้องอยู่ในอาการสำรวม ไม่หยิบจับสิ่งที่นำมาจัดแสดง
เมื่อผ่านจุดคัดกรองจะมีเจ้าหน้าที่แจกบัตรติดหน้าอก ให้ติดที่หน้าออกเบื้องซ้าย โดยบัตรนี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นผู้ชมรอบไหน
(ในแต่ละรอบใช้สีต่างกัน) อาคารจัดแสดงมีหลายอาคารขอให้บริหารเวลาให้ดี เพราะ 1 ชั่วโมงนั้นน้อยมาก
ความรู้ทั่วไปก่อนเข้าชมนิทรรศการ
แนวคิดไตรภูมิ
การสร้างพระเมรุมาศ
มีความสัมพันธ์กับคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิ ซึ่งมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าทวยเทพ ตามความเชื่อของพราหมณ์ถือว่า พระเจ้าแผ่นดินถือเป็นพระอิศวร
หรือพระนารายณ์แบ่งภาคลงมาบำรุงโลก
เมื่อเสด็จสวรรคตก็จะตั้งพระบรมศพบนพระเมรุมาศ
เพื่อเป็นการส่งพระบรมศพและพระวิญญาณกลับสู่เขาพระสุเมรุดังเดิม
ไตรภูมิ หมายถึง
ภพภูมิทั้ง 3 คือ กามภูมิ (11
ชั้น) รูปภูมิ (16
ชั้น) และอรูปภูมิ
(4
ชั้น) โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
กามภูมิ เป็นภูมิของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องในกาม มีสวรรค์ 6 ชั้น โลกมนุษย์ 1 ชั้น และพวกที่ต่ำกว่ามนุษย์อีก 4 ชั้น รวมเป็น 11
ชั้น
รูปภูมิ เป็นที่อยู่ของพรหมที่มีรูป เป็นผู้เสวยสุขแต่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในกาม มีทั้งหมด 16 ชั้น
อรูปภูมิ
เป็นที่อยู่ของพรหมที่เหนือกว่ารูปภูมิ ไม่มีรูป
ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในกาม มีทั้งหมด 4 ชั้น
เขาพระสุเมรุ
ตามความเชื่อในไตรภูมิ เขาพระสุเมรุมีความสูง 84,000 โยชน์ ในบางตำราเรียกว่า เหมคีรี
ซึ่งแปลว่าภูเขาทอง
ดังนั้นการสร้างประเมรุมาศจึงใช้สีทองเป็นหลักเพื่อให้เป็นไปตามคติความเชื่อ
เชิงเขาพระสุเมรุจะมีป่าหิมพานต์ หิม หรือ หิมะ ส่วนพานต์
เป็นคำเดียวกับคำว่า วน (วะ-นะ) ซึ่งแปลว่าป่า ดังนั้นหิมพานต์จึงแปลว่าป่าหิมะนั้นเอง หิมพานต์เป็นที่อยู่ของสัตว์หิมพานต์ เช่น
กินนร กินรี คชสีห์
ราชสีห์ ครุฑ นาค
เป็นต้น ในการสร้างพระเมรุมาศครั้งนี้ ดร. พรธรม
ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก
สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
ผู้ออกแบบภูมิทัศน์
ได้เลือกใช้น้ำมาล้อมรอบองค์พระเมรุมาศ
โดยจำลองให้เป็นสระอโนดาต
ซึ่งในความเชื่อถือว่าเป็นสระที่สำคัญที่สุดในกลุ่มมหาสระทั้ง 7 เนื่องจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง
5 สาย
คือ แม่น้ำคงคา, แม่น้ำยมุนา, แม่น้ำมหิ, แม่น้ำสรภู และแม่น้ำอจิรวดี ต่างมีต้นน้ำที่มหาสระอโนดาตทั้งสิ้น
ท้าวจตุโลกบาล
ท้าวจตุโลกบาล เป็นเทวดาที่คอยปกปักษ์ป้องกันภยันตรายของโลกมนุษย์ ประจำทิศทั้งสี่ดังนี้
1.)
ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร รักษาทิศอุดร (เหนือ) มีพวกยักษ์เป็นบริวาร ตามคติไทยเรียกพยายม
2.)
ท้าวธตรฐ (ทะ-ตะ-รด) รักษาทิศบูรพา (ตะวันออก) มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร
3.)
ท้าววิรูปักษ์ รักษาทิศประจิม (ตะวันตก) มีพวกนาคเป็นบริวาร
4.)
ท้าววิรุฬหก รักษาทิศทักษิณ (ใต้) มีพวกกุมภัณฑ์เป็นบริวาร กุมภัณฑ์ หรือบางที่เรียกว่า รากษส จะเป็นคนละพวกกับพวกยักษ์ แต่มีร่างกายใหญ่โตเหมือนกัน พวกนี้จะเป็นเทวดาที่ดูแลสมบัติ ดูแลป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ
![]() |
ท้าวเวสสุวรรณ |
![]() |
ท้าววิรูปักษ์ |
![]() |
ท้าววิรุฬหก |
![]() |
ท้าวธตรฐ |
พระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
แนวคิดและแบบร่างพระเมรุมาศฯ
กรมศิลปากรได้ยึดหลักแนวคิดในการออกแบบพระเมรุมาศจากหลัก 3 ข้อคือ
1. ออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศอย่างสมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
2. ออกแบบตามหลักโบราณราชประเพณี
3. ใช้แนวคิดคติไตรภูมิตามคัมภีร์พุทธศาสนา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชวินิจฉัยเลือกแบบร่างพระเมรุมาศทรงบุษบก 9 ยอด 7ชั้นเชิงกลอนของนายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ซึ่งเป็นแบบที่สวยงามสมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
อ. ก่อเกียรติ ทองผุด ผู้ออกแบบพระเมรุมาศ |
บุษบก คือปราสาทสี่เหลี่ยม เปิดโล่ง ซึ่งเป็นแบบสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น ที่องค์ประธานจะมี 7 ชั้นเชิงกลอน (หลังคา 7 ชั้น) บนยอดอันเชิญพระนพดลเศวตฉัตร (ร่มขาวเก้าชั้น) ซึ่งเป็นเครื่องสูงใช้ได้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น และ อ.ก่อเกียรติฯ ได้แนวทางในการจัดวางบุษบก 9 ยอดจาก พระมหาธาติเจดีย์ภัคดีประเทศ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งทำได้สวยงามอย่างมาก
พระเมรุมาศกว้างยาวด้านละ 60 เมตร แต่ถ้านับรวมถึงขอบสระอโนดาตจะกว้างยาวถึงด้านละ 70 เมตร ความสูงเดิมที่ได้ออกแบบไว้คือ 50.49 เมตร แต่ภายหลังได้ขยายแบบเป็น 53 เมตร มีทั้งหมด 3 ชั้น ดังนี้
ฐานชาลาชั้นที่ ๑ เป็นฐานสิงห์เป็นรั้วราชวัตร ฉัตร แสดงอาณาเขตพระเมรุมาศ มีท้าวจตุโลกบาลประทับยืนที่มุมฐานชาลาหันหน้าเข้าสู่บุษบกประธาน มีเทวดาคุกเข่าถือบังแทรก
ฐานชาลาชั้นที่ ๒ เป็นฐานปัทม์เป็นที่ตั้งของ บุษบกหอเปลื้องเครื่องยอดบุษบกเชิงกลอนห้าชั้น จำนวน ๔ องค์ตั้งอยู่ที่มุมฐานทั้งสี่ที่ใช้สำหรับจัดเก็บพระโกศทองใหญ่และพระโกศไม้จันทน์และอุปกรณ์สำหรับงานพระราชพิธี
ฐานชาลาชั้นที่ ๓ เป็นฐานสิงห์เหนือฐานสิงห์เป็นฐานเชิง บาตรท้องไม้มีเทพชุมนุมโดยรอบจำนวน ๑๐๘ องค์ เป็นที่บุษบกซ่างอยู่ทั้ง 4 มุม สำหรับให้พระสงฆ์ผลัดเปลี่ยนกันสวดพระอภิธรรม
อาคารต่างๆ รอบพระเมรุมาศจะมีทั้งหมด 4 ประเภท คือ
- พระที่นั่งทรงธรรม กว้าง 44.5 เมตร ยาว 155 เมตร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 พระบรมวงษานุวงศ์ พระราชอาคันตุกะ แขกต่างประเทศ สามารถรองรับได้ประมาณ 2,800 ท่าน ในงานนิทรรศการฯ จะเป็นส่วนจัดแสดงประราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- ศาลาลูกขุน มีทั้งหมด 4 หลัง เป็นที่พักของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ในงานนิทรรศการฯ จัดแสดงการก่อสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ งานสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ
- ทิม เป็นที่ให้ข้าราชบริพารใช้พัก ระหว่างพระราชพิธี
- ทัพเกษตร เป็นอาคารที่ถือเป็นแนวเขตบริเวณพิธี ใช้เป็นที่พักข้าราชการที่มาร่วมพิธี
เล่าเรื่องตามภาพ
ผมไปถึงบริเวณท้องสนามหลวงก่อนหกโมงเช้า แต่มีคนมีรอคิวจำนวนมากแล้ว ดังนั้นใครที่จะไปคำนวณเวลาให้ดีนะครับ
เมื่อผ่านจุดคัดกรองแล้ว เจ้าหน้าที่จะพาเดินมานั่งรอภายในเต้นท์พักรอ ในนี้จะไม่ร้อนเพราะติดตั้งพัดลมไว้ให้จำนวนมาก ระหว่างรออยู่สามารถเดินไปเข้าห้องน้ำได้
![]() |
บริเวรด้านหน้าทางเข้าจะมีการจัดภูมิทัศน์ แปลงนาสาธิต |
ภายนอกพระเมรุมาศ บริเวณทางเข้าด้านทิศเหนือ ได้มีการจัดภูมิทัศน์เพื่อแสดงถึงพระอฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านน้ำ และการเกษตร โดยมีการจัดเป็นแสดงฝายแม้ว กังหันน้ำชัยพัฒนา รวมถึงแปลงนาสาธิต โดยกรมการข้าวได้ทำคันนาเป็นรูปเลข ๙ และปลูกข้าวโดยมีสามสายพันธุ์สามระยะ คือ 1. พันธุ์ปทุมธานี 1 หรือราชินีแห่งข้าว เป็นตัวแทนของข้าวภาคกลางปลูกในระยะต้นกล้า 2. พันธุ์ข้าวหอมมะลิ หรือราชาแห่งข้าว เป็นตัวแทนของข้าวเหนือและอีสานปลูกในระยะแตกกอ และ 3. พันธุ์ปทุมธานี 80 หรือ กข31 ปลูกในช่วงออกรวง ทั้งหมดนี้กรมการข้าวได้ดำเนินการเตรียมการตั้งแต่เดือน ก.ค. 60 เพื่อให้พร้อมใช้งานในเดือน ต.ค. และยังเตรียมต้นข้าวไว้ผัดเปลี่ยนอีก ณ พิพิธพันธ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้ประชาชนที่มาชมนิทรรศการได้เห็นภาพที่สมบูรณ์อยู่ตลอดเวลาจัดงาน และยังมีการปลูกพืชที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ท่านไว้ด้วย เช่น หญ้าแฝก ต้นยางนา และมะม่วงมหาชนก
![]() |
เจ้าหน้าที่ของกรมการข้าวกำลังตรวจแปลงนา เพื่อความสมบูรณ์ที่สุด |

![]() |
ในแต่ละชั้นชาลาจะราวบันไดนาคซึ่งจะใช้นาคคนละแบบ |
สระอโนดาต ด้านทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์หิมพานต์จำพวกช้าง ปั้นและหล่อเรซิ่นพร้อมลงสี โดยวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
![]() |


![]() |
![]() |
![]() |
การแกะสลักไม้เพื่อประดับประโกศจันทน์ |
![]() |
ศิลปะการซ้อนไม้ |
![]() |
ท่อนฟืนไม้จันทร์ มีทั้งหมด 24 ท่อน เขียนลายลงรักปิดทองตามแบบโบราณ |
![]() |
อุปกรณ์ และเครื่องประกอบในการเขียนลาย |
![]() |
แต่ละจุดจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ และคำอธิบายสิ่งต่างๆ เกือบทุกจุด |
![]() |
กรมสรรพวุธทหารบก รับหน้าที่ในการบูรณปฏิสังขรณืราชรถ |
![]() |
หุ่นจำลองราชรถปืนใหญ่ |
![]() |
ราชรถปืนใหญ่ของจริง |
ในงานพระราชพิธีฯ ครั้งนี้มีการออกแบบกระถางเซรามิกที่ใช้ประดับบริเวณโดยรอบพระเมรุมาศใหม่ทั้งหมด ออกแบบโดยนายวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ไม่แน่ใจว่ามีจำนวนเท่าไหร่แน่ ผมเก็บภาพมาได้แค่บางส่วนเท่านั้น
การขยายแบบ คือการนำแบบขนาด 1:10 มาขยายในอัตราส่วน 1:1 เพื่อให้เห็นภาพทั้งหมดและเก็บรายละเอียดได้ครบถ้วน

![]() |
อุปกรณ์ และเครื่องทรงของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการขยายแบบ |
- อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทิศเหนือของภูเขาพระสุเมรุ
- ปุพพวิเทหะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
- ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทิศใต้เขาพระสุเมรุ คือโลกของเรา
- อมรโคยาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
การออกแบบจัดว่าพระเมรุมาศครั้งนี้ จะมีแนวแกนสำคัญสองแกนคือ
แกนเหนือ-ใต้ องค์พระเมรุประธานจะตรงกับ รัตนเจดีย์ในวันพระแก้ว
และแนวแทนตะวันออก-ตะวันตก พระเมรุประธานจะตรงกันกึ่งกลางพระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
![]() |
QC Code มีทุกจุด สามารถชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ |

ขอขั้นเล่าเรื่องฉากบังเพลิงอีกสักหน่อย ฉากบังเพลิงมีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องกั้นสายตาไม่ให้เห็นการเคลื่อนย้ายพระบรมศพจากพระโกศโหญ่สู่พระโกศรอง และไม่ให้ลมตีไฟแตกกระจาย ขนาดของฉากบังเพลิง สูง 4.4 เมตร กว้าง 5.35 เมตร แต่ละทิศจะเขียนลายไม่เหมือนกัน โดยทั้งหมดจะดึงคติเทวสมมุติ ที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ จึงวาดภาคอวตาร 8 ปางจาก 10 ปาง และด้านล่างของฉากบังเพลิงได้วาดพระราชกรณียกิจที่ทำไว้ตลอดพระชนมายุ

ทิศเหนือ หมวดน้ำ พระนารายณ์อวตารมาช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นภัยทางน้ำ
ด้านบน
- อวตารเป็นเต่า
- อวตารเป็นปลากรายทอง
ด้านล่าง
- ฝนหลวง
- ฝายต้นน้ำ
- อ่างเก็บนำ้เขาเต่า
- เขื่อนปาสักชลสิทธิ์
- โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำปากพนัง
- กังหันน้ำชัยพัฒนา
ด้านบน
- อวตารเป็นนรสิงห์
- อวตารเป็นหมูป่า
ด้านล่าง
- ดินกรวด ศูนย์ศึกษาและพัฒาห้วยฮ่องไคร้
- ดินเค็ม ศูนย์ศึกษาและพัฒาอ่าวคุ้งกระเบน
- ดินทราย ศูนย์ศึกษาและพัฒาเขาหินซ้อน และโครงการหุบกระพง-ดอนห้วยขุน
- ดินดานลูกรัง ศูนย์ศึกษาและพัฒาห้วยทราย
- ดินพรุ ศูนย์ศึกษาและพัฒาพิกุลทอง
- ดินเปรี้ยว ศูนย์ศึกษาและพัฒาพิกุลทอง
![]() |
ศูนย์ศึกษาและพัฒาพิกุลทอง |
![]() |
ศูนย์ศึกษาและพัฒาห้วยฮ่องไคร้ |
ด้านบน
- อวตารเป็นปรศุรามหรือรามสูร
- อวตารเป็นพระรามในรามเกียรติ์
ด้านล่าง
- สบู่ดำ ปลูกเพื่อสกัดน้ำมันทำเป็นไบโอดีเซล
- โรงงานผลิตไบโดดีเซล
- เชื้อเพลิงอัดแท่ง
- ก๊าซชีวภาพ
- พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์
- กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าที่ประตูน้ำคลองลัดโพธิ์
ทิศตะวันตก หมวดลม พระนารายณ์อวตารปัดเป่าความทุกข์ยากของมนุษย์
ด้านบน
- อวตารเป็นมนุษย์ขี่ม้าขาวชื่อกัลกี
- อวตารเป็นพระกฤษณะในรามยาณะ
ด้านล่าง
- โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ เพื่อผันน้ำจากที่ต่ำชักขึ้นที่สูง
- กังหันลม โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
- ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมและกังหันลมสูบน้ำ
- ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เป็นที่มาของมูลนิธิราชประชานะเคราะห์
- บางกระเจ้า อ.พระประแดง พระราชดำริเห็นว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นปอดของกรุงเทพฯ เนื่องจากลมมรสุมจากอ่าวไทยจะพัดเอาอากาศบริสุทธิ์ที่ผลิตจากพื้นที่แห่งนี้เข้าฟอกอากาศเสียในกรุงเทพฯ เป็นเวลากว่าปีละ 9 เดือน

![]() |
พระที่นั่งทรงธรรม มีความยาวถึง 155 เมตร |
![]() |
สุนักทรงเลี้ยง คุณโจโฉ และคุณทองแดง |
![]() |
วันนี้เด็กๆ เยอะ น่าเสียดายที่เวลาน้อย น้องๆ อาจจะได้เก็บเกี่ยวความรู้น้อยไปนิด |
![]() |
ภาพจิตกรรมฝาผนักในพระที่นั่งทรงธรรม |


![]() |
โต๊ะทรงงานจำลอง |
ดอกปาริชาต ดอกไม้สวรรค์ ตามตำนานเล่าว่าเมื่อดอกบานจะส่งกลิ่นหอมไปถึง 5,000 โยชน์ มนุษย์ คนธรรพ์ เทวดา นางฟ้า เมื่อได้สูดดมรับกลิ่นหอมแล้วจะระลึกชาติได้
สวนนงนุชเป็นผู้รับผิดชอบในการตกแต่งบริเวณพิธีฯ ต้องใช้ต้นไม้ถึง 15 สายพันธุ์ จำนวน 186,988 ต้น ในภาพเป็นการเปลี่ยนต้นดาวเรืองที่เริ่มโรย นำต้นใหม่มาแทนที
![]() |
พระจิตกาธาน หรือถ้าเป็นของสามัญชนก็คือเชิงตะกอน ในครั้งนี้ได้สร้างมีความสูงถึง 11 เมตร นับเป็นพระจิตกาธานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ไทย |
เมื่อคลอดออกมานากัทรุจรึงมีลูกเป็นนาคถึง 1,000 ตัว ส่วนนางวินตาคลอดออกมาเป็นไข 2 ฟอง เวลาผ่านไปถึง 500 ปีไขก็ยังไม่ฟักเป็นตัวสักที นางวินตาใจร้อนเลยทุบไข่ฟองหนึ่งออก บังเกิดเป็นเทพบุตรแต่มีเพียงครึ่งตัวเพราะยังไม่ครบกำหนดฟัก ภายหลังได้ชื่อว่าพระอรุณ พระอรุณโกรธแม่ตนเองมากจึงสาบแม่ตนเองให้ต้องเป็นทาสนางกัทรุ 500 ปี แล้วตัวเองก็เหาะหนี้ไปอยู่กับพระอาทิตย์ ไปเป็นสาถีให้พระอาทิตย์ และมีอีกหน้าที่คือคอยบังแสงพระอาทิตย์ไว้ส่วนหนึ่งไม่ให้ส่งมาโลกมนุษย์มากเกินไป ไม่อย่างนั้นโลกมนุษย์อาจมอดไหม้ได้ หลังจากนั้นมาเราจึงเรียกแสงเรืองรองก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นยามเช้าว่าแสงอรุณ
หลังจากนั้นนางวินตาก็ได้แพ้พนันการทายสีม้าอุไฉศรพ ม้าทรงรถของพระอาทิตย์ว่าสีขาวหรือดำ ถ้าใครทายผิดจะต้องเป็นทาสของอีกคนถึง 500 ปี นางวินตาทายว่าสีขาว ซึ่งก็เป็นม้าสีขาวจริงๆ แต่นางกัทรุทำอุบายส่งลูกนาคทั้งพันตัวของตนให้แปลงกายเป็นขนสีดำไปแทรกตามตัวของม้า นางวินตาจึงเสียพนันกลายเป็นทาสไป
เมื่อครบกำหนดฟักไข่ใบที่สองก็แตกออกเป็นครุฑ ตัวขยายใหญ่โตมหึมามีฤทธิ์มาก เมื่อพยาครุฑทราบเรื่องว่าแม่ตนเองถูกโกงพนันจนต้องไปเป็นทาสถึง 500 ปี จึงโกรธมากไล่จิกกินพวกพยานาค ไม่ว่าจะเจอที่ไหนจะต้องจับมากิน แต่จะเลือกกินเฉพาะมันเหลวที่ท้องเท่านั้นส่วนตัวก็โยนทิ้งมหาสมุทรไป
เมื่อเห็นดังนั้นเหล่าพยานาคเลยต่างหนี้เอาตัวรอด อย่างอนันตนาคราชก็หนี้ไปพึ่งใบบุญพระนารายณ์ ขออยู่ใกล้ๆ ยอมเป็นพระแท่น(ที่นอน)ให้พระนารายณ์ ส่วนกลุ่มของวาสุกรีก็อพยบลงไปใต้บาดาล แต่ก็ยังไม่วายโดนพยาครุฑจับกินอยู่ ตอนหลังจึงใช้วิธีกลืนก้อนหินเข้าไปให้หนักท้องเวลาครุฑมาจับก็ยกยากพอมีเวลาให้พยานาคต่อสู้ได้บ้าง ตอนหลังพยาครุฑทราบอุบายดังนั้นจึงใช้วิธีจับครุฑที่หางแทนเอาหัวห้อย แล้วเขย่าให้หินล่วงออกจากท้องจึงจับกินได้ง่าย
ที่เล่ามาซะยาวก็เพื่อจะบอกว่าศิลปะครุฑยุดนาค (ครุฑยึดนาค) ของไทยเอามาจากตำนานนี้ เวลาวาดหรือปั้นก็ตามจะต้องเอาหัวพยานาคไว้ข้างล่างเสนอ
![]() |
เสาไฟต่างๆ ในบริเวณพิธีฯ จะเป็นรูปครุฑทั้งสิ้น เนื่องจากครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ |
ส่วนหนังสือถ้าใครสามารถหาซื้อมาเก็บไว้ได้ก็แนะนำให้ซื้อไว้นะครับ หนังสือทำดีรายละเอียดเยอะ เมื่อเทียบคุณภาพกับราคาแล้วถือว่าถูกมากๆ ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น